วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ค่านิยม อะไรบ้างที่ควร'ลดละเลิก' เพื่อให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น?

๑ . ความเห็นแก่เงิน เงินเป็นยอดปรารถนาของทุกคน สังคมไทยสมัยก่อนถือว่าเกียรติสำคัญกว่าเงิน ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งดีควรยึดถือ แต่สังคมปัจจุบันเราย้ำเรื่องเงินเรื่องวัตถุ (materialism) มากกว่าเรื่องอื่น ๆ 
๒ . การใช้อำนาจในทางที่ผิด อำนาจนี้มักจะเห็นมากในระบบศักดินาหรือระบบราชการ เช่น ทหาร ตำรวจปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด รัฐมนตรี เป็นต้น 
๓ . การรักษาพวกพ้องในทางที่ผิด คือ ออกมาในรูปที่รักเพื่อนฝูง รักกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือมีพื้นเพมาจากแหล่งเดียวกัน ในทางที่ผิดและไม่เกิดประโยชน์แก่สังคม 
๔ . ไม่กล้าเสี่ยง ขาดความอดทน คนไทยชอบทำงานที่ให้หลักประกันความมั่นคง เช่น รับราชการหรือทำงานในรัฐวิสาหกิจ ธุรกิจและการค้าจึงตกอยู่ในมือคนต่างด้าวเสียเป็นส่วนใหญ่ 
๕ . ขาดความกระตือรือร้น อาจจะเป็นเพราะวางเฉยจนเกิน ไม่มีความคิดริเริ่มในงานของตน ขาดความทะเยอทะยานหรือความคิดในการสร้างสรรค์ เป็นฝ่ายรับ ( passive) มากกว่าฝ่ายรุก (active) 
๖ . ขาดระเบียบวินัย ไม่ชอบทำอะไรเพื่อส่วนรวม ชอบทำอะไรเพื่อตัวเองหรือความพอใจของตนเอง 
๗ . ตัวใครตัวมัน โดยเฉพาะภาวะที่เศรษฐกิจกำลังฝืดเคืองหรือในสังคมที่ทุกคนต้องแข่งขันกันเอาตัวรอดเพื่อเลื่อนชั้นเลื่อนฐานะ เพื่อความมั่นคง 
๘ . นิยมบุคคลมากกว่าอุดมการณ์ โครงสร้างของสังคมไทย มีแนวโน้มจะยึดบุคคลเป็นหลัก 
๙ . นิยมวัตถุสิ่งของ ความนิยมนี้มักจะออกมาในรูปสิ่งของที่มีราคา เช่น เพชรเม็ดโต ฯ รถคันยาว ๆ ใหม่ ๆ แพงๆ 
๑๐ . นิยมของใช้จากต่างประเทศ ไม่ชื่นชมนิยมของไทยที่ทำเอง ทำให้เราต้องมีดุลการค้าเสียเปรียบ และของต่างประเทศไม่ใช่จะดีเสมอไป ของไทยอาจจะดีกว่าก็ได้ 
๑๑ . รักความสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นสังคมเมืองหรือสังคมชนบท เราจะเห็นความสนุกสนานแฝงในกิจกรรมต่างๆ เสมอ ทั้งในยามว่าหรือยามทำงาน เช่น สงกรานต์ บวช โกนจุก รับน้องใหม่ วันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ 
๑๒ . ชอบความสบาย ไม่ชอบระเบียบแบบแผน หรือไม่มีพิธีรีตอง ชอบความสุขชั่วหน้า ชอบความเป็นกันเอง ชอบชีวิตง่าย ๆไม่จริงจังกับชีวิต 
๑๓ . ชอบงานพิธี เป็นการทำเพื่อเกียรติ ต้องการตำแหน่ง ต้องการยกย่อง เพื่อความสบายใจ ฯลฯ 
๑๔ . เชื่อถือโชคลาง ชอบการเสี่ยงโชค เพราะคิดว่ามีสิ่งลึกลับบางอย่างบันดาลให้คนมีอันเป็นไปในด้านดีหรือเลว เจริญหรือเสื่อม เป็นการไม่เชื่อตัวเอง จึงทำให้เกิดความกลัว 
๑๕ . ชอบความฟุ่มเฟือย การจ่ายเกินตัวเกินฐานะ ไม่รู้จักประมาณตัว เช่น แต่งงานก็ต้องเลี้ยงกันหรูหรา พอหลังแต่งงานแล้วก็ใช้หนี้กันไม่รู้จักจบ 
๑๖ . ชอบผัดผ่อนเลื่อนเวลา คือ อะไรที่จะทำพรุ่งนี้ มะรืนนี้ เดือนหน้า ฯลฯ ๑๗ . ไม่ชอบขัดใจใคร เวลาได้รับการร้องขอมักจะรับปาก ซึ่งบางครั้งบุคคลจะรับปากเพื่อนให้พ้น ๆ ตัว โดยอาจจะกลัวเสียหน้า กลัวโกรธ กลัวว่าไม่รักพวกพ้อง เป็นต้น 
๑๘ . ไม่ตรงต่อเวลา เชื่อว่าเวลาไม่ใช่ของสำคัญที่เราต้องยอมเป็นทาสให้ และยิ่งแสดงความไม่นำพาให้ปรากฏได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นไทยแท้ 
๑๙ . สอดรู้สอดเห็น ในชีวิตประจำวันของคนไทย ต่างสนใจเรื่องส่วนตัวของกันและกัน เป็นอย่างยิ่ง และเมื่อลับหลังก็สนใจที่จะกล่าวขวัญถึงเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นตลอดเวลา 
๒๐ . ชอบโฆษณา สิ่งใดมีการโฆษณามากก็จะเชื่อสิ่งนั้น 
๒๑ . ชอบแจกของหรือของแถม ทั้ง ๆ ที่บางครั้งสิ่งที่ตนได้ไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ตนเลย 
๒๒ . ลืมง่าย เพราะไม่มีอุดมการณ์ไม่มีอะไรยึดเหนี่ยวแน่นอน เนื่องจากขึ้นอยู่กับอารมณ์ 
๒๓ . กินพร่ำเพรื่อ คนไทยมีนิสัยชอบกินของไม่เป็นเวลา ถ้ามีโอกาสจะพยายามกิน 
๒๔ . พูดมากกว่าทำ เป็นการทำงานด้วยปาก แต่ไม่ยอมลงมือกระทำตามที่พูด ๒๕ . เห็นใครดีกว่าไม่ได้ อิจฉาริษยา ถ้าใครดีกว่ามักจะไม่พอใจ 
“ อันที่จริงคนเขาอยากให้เราดี แต่ถ้าเด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้ 
จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน ” 

ค่านิยมที่ควรแก้ไขทั้งหมดนี้ ประชาชนชาวไทยทั้งหลายควรจะช่วยกันแก้ไข และไม่ควรนำไปปฏิบัติ โดยควรจะสร้างค่านิยมที่ดีงาม เพื่อความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองแก่ชาติบ้านเมืองของเราต่อไป

แหล่งที่มา : https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090227083334AArN4yf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น